สส.ประสานเสียงจี้รัฐทบทวนภาษีช่วยเหลือชาวไร่ยาสูบ-ยาเส้น สภาเคาะส่งเรื่องต่อกมธ. การเงิน การคลัง
สส. จากฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน พร้อมใจร่วมอภิปรายเรียกร้องรัฐบาลหาแนวทางช่วยเหลือชาวไร่ยาสูบและยาเส้นที่โดนตัดโควตาการปลูกติดต่อกันหลายปี ขาดหนทางปลูกพืชทดแทน และไร้หน่วยงานรัฐที่เชี่ยวชาญดูแล ชี้ปัญหาเกิดจากภาษีสรรพสามิตบุหรี่ปัจจุบันไม่เหมาะสมทำบุหรี่เถื่อนทะลักกว่าร้อยละ 22.3 สูญเสียรายได้กว่า 2.5 หมื่นล้านบาท ย้ำคณะกรรมาธิการการเงินฯ ต้องทำงานบูรณาการรับฟังเสียงเกษตรกรด้วย
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 23 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1) มีการพิจารณาญัตติเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหายาสูบและยาเส้นราคาตกต่ำ เสนอโดยนายจักรัตน์ พั้วช่วย สส.จังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ และได้อภิปรายถึงสาเหตุของการยื่นญัตติครั้งนี้ว่า ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบได้รับความเดือดร้อนจากนโยบายด้านสุขภาพเพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ และโครงสร้างภาษีบุหรี่มูลค่าแบบ 2 อัตราที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2560 และมีการปรับขึ้นอัตราภาษีอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2564 ทำให้ชาวไร่ยาสูบถูกตัดโควตาการปลูกต่อเนื่อง และยังไม่สามารถหาพืชทดแทนได้ รวมถึงเปิดช่องให้บุหรี่เถื่อนและบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาทำให้เกษตรกรเดือดร้อนมากขึ้น
นายจักรัตน์ กล่าวเสริมว่า ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นมีจุดเริ่มต้นจากนโยบายภาษีสรรพสามิตบุหรี่มูลค่าแบบ 2 อัตรา ทำให้การยาสูบแห่งประเทศไทยมีกำไรลดลงจนปีล่าสุดเหลือเพียงราว 120 ล้านบาทเท่านั้น แม้บุหรี่จะมีราคาสูงแต่จำนวนผู้สูบบุหรี่ไทยกลับไม่ได้ลดลง และการบริโภคบุหรี่เถื่อนในประเทศก็เพิ่มสูงถึงร้อยละ 22.3 หรือ 1 ใน 4 ของการบริโภคทั้งหมด หากในอนาคตจะมีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตยาสูบเป็นแบบมูลค่าอัตราเดียวตามที่กระทรวงการคลังได้ทำการศึกษาไว้ ก็ควรทำให้อัตราภาษีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ มีแผนการปรับภาษีระยะยาว เพื่อให้การยาสูบฯ ได้ปรับตัว และมีกำไรเพียงพอในการดำเนินงานช่วยเหลือชาวไร่ยาสูบไปพร้อมกัน และภาษียาเส้นเองก็ต้องมีการปรับให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสมด้วย
ด้านนายทรงยศ รามสูต สส.จังหวัดน่าน เขต 1 พรรคเพื่อไทย เน้นย้ำถึงสมดุลระหว่างนโยบายด้านสุขภาพและผู้บริโภคยาสูบที่รัฐบาลควรคำนึงถึง เพราะมีผู้สูบบุหรี่กว่าร้อยละ 52 ไม่คิดที่จะเลิกสูบบุหรี่ การขึ้นอัตราภาษีทำให้กำไรของการยาสูบฯ ตกต่ำ และผู้สูบบุหรี่หันไปหาบุหรี่เถื่อนแทนจนรัฐสูญเสียรายได้กว่า 2.5 หมื่นล้านบาท ดังนั้นแนวคิดอื่นๆ เช่น การออกกฎกระทรวงแบนส่วนประกอบในบุหรี่จะยิ่งทำลายสมดุลนี้และซ้ำเติมสถานการณ์บุหรี่เถื่อนในประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากนี้ นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สส.จังหวัดเชียงใหม่ เขต 3 พรรคก้าวไกล ให้ความเห็นว่าชาวไร่ยาสูบควรได้รับการดูแลจากหน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านการเกษตรอย่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการหาพืชทดแทนการปลูกยาสูบ ไม่ใช่เพียงกระทรวงการคลังเพียงหน่วยงานเดียวอย่างปัจจุบัน รวมถึงมองว่าบุหรี่ไฟฟ้าชนิด Heat Not Burn ที่มีใบยาสูบเป็นส่วนประกอบสามารถเป็นโอกาสในการประกอบอาชีพของชาวไร่ยาสูบในอนาคตได้
จากนั้น นพ.นิยม วิวรรธนดิฐกุล สส.จังหวัดแพร่ เขต 2 พรรคเพื่อไทย ได้นำเสนอ 3 ข้อเรียกร้องจากชาวไร่ยาสูบ ประกอบด้วย การไม่ลดโควตาการปลูกเพิ่มเติม เรียกร้องให้การยาสูบฯ รับซื้อใบยาสูบให้คุ้มกับต้นทุน และสนับสนุนค่าปัจจัยการเกษตร เช่น ปุ๋ย ขณะที่นพ.ทศพร เสรีรักษ์ สส.จังหวัดแพร่ เขต 1 พรรคเพื่อไทย มองว่ารัฐควรให้การชดเชยชาวไร่ยาสูบอย่างเพียงพอและหาแนวทางการปลูกพืชทดแทนในอนาคตต่อไป
ก่อนจบการประชุม สภาฯ เห็นชอบนำประเด็นการศึกษาหาแนวทางแก้ปัญหายาสูบและยาเส้นราคาตกต่ำไปผนวกกับคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน ในกรอบระยะเวลา 90 วัน นายจักรัตน์ พั้วช่วย ผู้นำเสนอญัตติได้สรุปทิ้งท้ายว่าการอภิปรายครั้งนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ส่งเสริมให้คนไทยสูบบุหรี่ แต่เป็นการส่งเสียงเพื่อปกป้องอาชีพของชาวไร่ยาสูบและยาเส้นทั่วไทยให้มีความมั่นคงมากขึ้นเท่านั้น และอยากฝากคณะกรรมาธิการให้ทำงานแบบบูรณาการ เชิญผู้เกี่ยวข้องจากหลายภาคส่วน รวมถึงชาวไร่ยาสูบเข้ามาให้ข้อมูลอย่างรอบด้านเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 23 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1) มีการพิจารณาญัตติเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหายาสูบและยาเส้นราคาตกต่ำ เสนอโดยนายจักรัตน์ พั้วช่วย สส.จังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ และได้อภิปรายถึงสาเหตุของการยื่นญัตติครั้งนี้ว่า ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบได้รับความเดือดร้อนจากนโยบายด้านสุขภาพเพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ และโครงสร้างภาษีบุหรี่มูลค่าแบบ 2 อัตราที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2560 และมีการปรับขึ้นอัตราภาษีอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2564 ทำให้ชาวไร่ยาสูบถูกตัดโควตาการปลูกต่อเนื่อง และยังไม่สามารถหาพืชทดแทนได้ รวมถึงเปิดช่องให้บุหรี่เถื่อนและบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาทำให้เกษตรกรเดือดร้อนมากขึ้น
นายจักรัตน์ กล่าวเสริมว่า ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นมีจุดเริ่มต้นจากนโยบายภาษีสรรพสามิตบุหรี่มูลค่าแบบ 2 อัตรา ทำให้การยาสูบแห่งประเทศไทยมีกำไรลดลงจนปีล่าสุดเหลือเพียงราว 120 ล้านบาทเท่านั้น แม้บุหรี่จะมีราคาสูงแต่จำนวนผู้สูบบุหรี่ไทยกลับไม่ได้ลดลง และการบริโภคบุหรี่เถื่อนในประเทศก็เพิ่มสูงถึงร้อยละ 22.3 หรือ 1 ใน 4 ของการบริโภคทั้งหมด หากในอนาคตจะมีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตยาสูบเป็นแบบมูลค่าอัตราเดียวตามที่กระทรวงการคลังได้ทำการศึกษาไว้ ก็ควรทำให้อัตราภาษีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ มีแผนการปรับภาษีระยะยาว เพื่อให้การยาสูบฯ ได้ปรับตัว และมีกำไรเพียงพอในการดำเนินงานช่วยเหลือชาวไร่ยาสูบไปพร้อมกัน และภาษียาเส้นเองก็ต้องมีการปรับให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสมด้วย
ด้านนายทรงยศ รามสูต สส.จังหวัดน่าน เขต 1 พรรคเพื่อไทย เน้นย้ำถึงสมดุลระหว่างนโยบายด้านสุขภาพและผู้บริโภคยาสูบที่รัฐบาลควรคำนึงถึง เพราะมีผู้สูบบุหรี่กว่าร้อยละ 52 ไม่คิดที่จะเลิกสูบบุหรี่ การขึ้นอัตราภาษีทำให้กำไรของการยาสูบฯ ตกต่ำ และผู้สูบบุหรี่หันไปหาบุหรี่เถื่อนแทนจนรัฐสูญเสียรายได้กว่า 2.5 หมื่นล้านบาท ดังนั้นแนวคิดอื่นๆ เช่น การออกกฎกระทรวงแบนส่วนประกอบในบุหรี่จะยิ่งทำลายสมดุลนี้และซ้ำเติมสถานการณ์บุหรี่เถื่อนในประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากนี้ นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สส.จังหวัดเชียงใหม่ เขต 3 พรรคก้าวไกล ให้ความเห็นว่าชาวไร่ยาสูบควรได้รับการดูแลจากหน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านการเกษตรอย่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการหาพืชทดแทนการปลูกยาสูบ ไม่ใช่เพียงกระทรวงการคลังเพียงหน่วยงานเดียวอย่างปัจจุบัน รวมถึงมองว่าบุหรี่ไฟฟ้าชนิด Heat Not Burn ที่มีใบยาสูบเป็นส่วนประกอบสามารถเป็นโอกาสในการประกอบอาชีพของชาวไร่ยาสูบในอนาคตได้
จากนั้น นพ.นิยม วิวรรธนดิฐกุล สส.จังหวัดแพร่ เขต 2 พรรคเพื่อไทย ได้นำเสนอ 3 ข้อเรียกร้องจากชาวไร่ยาสูบ ประกอบด้วย การไม่ลดโควตาการปลูกเพิ่มเติม เรียกร้องให้การยาสูบฯ รับซื้อใบยาสูบให้คุ้มกับต้นทุน และสนับสนุนค่าปัจจัยการเกษตร เช่น ปุ๋ย ขณะที่นพ.ทศพร เสรีรักษ์ สส.จังหวัดแพร่ เขต 1 พรรคเพื่อไทย มองว่ารัฐควรให้การชดเชยชาวไร่ยาสูบอย่างเพียงพอและหาแนวทางการปลูกพืชทดแทนในอนาคตต่อไป
No comments